หน้าเว็บ

Diary



   วันอาทิตย์ ที่ 4  กันยายน   พ.ศ. 2554



 
        บางครั้งเราก็มองข้ามสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ไป
เพียงเพราะใช้เวลาสั้นๆ ในการตัดสินสิ่งนั้นว่า " ไร้สาระ "
        หลายวันก่อน เพื่อนคนหนึ่งถามฉันว่า " ทำไมต้องมียางลบอยู่บนหัวดินสอ ? "
ฉันไม่ได้สนใจและใส่ใจกับคำถามนั้นสักเท่าไหร่
เพียงแค่รู้สึกว่าเป็นคำถามที่ไม่มีสาระอะไรเสียเลย
 แต่ก็อดไม่ได้ที่จะตอบเล่นๆ ไปว่า " ก็คงมีเพื่อความสะดวกมั้ง
หรือไม่ก็ช่วยให้คนขี้ลืมที่ชอบวางยางลบไม่เป็นที่เป็นทางได้มียางลบ ใช้มั้ง "
เพื่อนของฉันก็อมยิ้ม ก่อนที่จะตอบฉัน สั้นๆ ว่า " ไม่ใช่ "
" อ้าว. . ..งั้นเพราะอะไรล่ะ" ฉันอดที่จะถามไม่ได้  
ก็เพราะว่า " คนเราสามารถทำผิดกันได้ "
". . . . . . . . . . . . . . . . . .. " ฉันนิ่งไปครู่หนึ่ง
       หลังจากที่ได้ยินคำตอบ และปล่อยให้เจ้าของคำถามเดินจากไป
โดยที่ไม่ได้อธิบายอะไรมากไปกว่าคำตอบสั้นๆ ของเขาเท่านั้น
 คำถามของเพื่อนที่ฉันเคยมองว่ามันไร้สาระ
กลับทำให้ฉัน ได้เก็บมาคิดแทบทุกขณะที่สมองว่าง
เย็นวันนั้น ฉันจึงหยิบโทรศัพท์เขียนข้อความส่งถึงเพื่อนๆ
ด้วยประโยคที่ซ้ำกัน. . .
" ทำไมต้องมียางลบอยู่บนหัวดินสอเพราะคนเรามีสิทธิ์ทำผิดกันได้
แต่จงจำไว้ว่า. .. ..เราไม่ควรใช้ยางลบให้หมดก่อนดินสอ
เพราะนั่นอาจหมายความว่า เรากำลังทำผิดซ้ำๆ จนความผิดนั้นอาจสายเกินแก้"




   วันจันทร์ ที่  5  กันยายน   พ.ศ. 2554




  ทำไมรุ้งกินน้ำจึงเกิดตรงข้ามกับดวงอาทิตย์  




       รุ้งกินน้ำ (อังกฤษ: Rainbow) เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นหลังจากฝนตก โดยเกิดขึ้นจากแสงแดดส่องผ่านละอองน้ำในอากาศ ทำให้แสงสีต่าง ๆ เกิดการหักเหขึ้น จึงเห็นเป็นแถบสีต่าง ๆ ปรากฏขึ้นบนท้องฟ้า รุ้งปฐมภูมิจะประกอบด้วยสีม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และแดง โดยมีสีม่วงอยู่ชั้นในสุดและสีแดงอยู่ชั้นนอกสุด ส่วนรุ้งทุติยภูมิจะมีสีเช่นเดียวกันแต่เรียงลำดับในทิศทางตรงกันข้ามข้าม   
         
- ลักษณะการเกิดรุ้งกินน้ำ
       เราสามารถมองเห็นรุ้งกินน้ำได้เมื่อมีละอองน้ำในอากาศและมีแสงอาทิตย์ส่องมาจากด้านหลังของผู้สังเกตการณ์ในมุมที่สูงจากพื้นไม่มากนัก โดยส่วนใหญ่รุ้งกินน้ำจะปรากฏให้เห็นชัดเจนเมื่อท้องฟ้าส่วนมากค่อนข้างมืดครึ้มด้วยเมฆฝน ส่วนผู้สังเกตการณ์อยู่ในที่พื้นที่สว่างซึ่งมีแสงส่องจากดวงอาทิตย์ จะทำให้มองเห็นรุ้งกินน้ำพาดผ่านฉากหลังสีเข้ม

       ปรากฏการณ์รุ้งกินน้ำยังอาจพบเห็นได้ในบริเวณใกล้กับน้ำตกและน้ำพุ หรืออาจสร้างขึ้นเองได้โดยการพ่นละอองน้ำไปในอากาศกลางแสงแดด รุ้งกินน้ำยังอาจเกิดจากแสงอื่นนอกจากแสงอาทิตย์ ในคืนที่แสงจันทร์มีความสว่างมากๆ อาจทำให้เกิดรุ้งกินน้ำก็ได้ เรียกว่า moonbow แต่ภาพรุ้งที่เกิดขึ้นจะค่อนข้างจางมองเห็นได้ไม่ชัด และมักมองเห็นเป็นสีขาวมากกว่าจะเห็นเป็นเจ็ดสี

      การถ่ายภาพวงโค้งสมบูรณ์ของรุ้งกินน้ำทำได้ยาก เพราะจำเป็นต้องกระทำในมุมมองประมาณ 84° ถ้าใช้กล้องถ่ายภาพแบบปกติ (35 mm) จะต้องใช้เลนส์ขนาดความยาว 19 mm หรือเลนส์ไวด์แองเกิลจึงจะใช้ได้ ถ้าผู้สังเกตการณ์อยู่บนเครื่องบิน อาจมีโอกาสมองเห็นรุ้งกินน้ำแบบเต็มวงได้ โดยมีเงาของเครื่องบินอยู่ที่ศูนย์กลางวง


- การเกิดรุ้งกินน้ำมีปรากฏการชองคลื่นแสงมาเกี่ยวข้อง 2 อย่างคือ
1. การหักเหของแสง เนื่องจากผิวหน้าของละอองน้ำที่สะท้อนแสงไม่ขนานกัน แสงที่มีความถี่ไม่เท่ากันจะมีมุมหักเหต่างกันไปด้วย ทำให้เกิดการแยกออกเป็นแสงสีต่างๆ ตามสเปกตรัมของแสง
2. การสะท้อนกลับหมด เมื่อแสงที่ผ่านเข้ามาในละอองน้ำมีค่ามากกว่ามุมวิกฤติ (critical angle) ทำให้เกิดการสะท้อนกลับหมดภายในหยดละอองน้ำ เราจึงเห็นเสมือนหยดน้ำสะท้อนแสงอาทิตย์อีกที ซึ่งก็คืออยู่ด้านตรงข้ามกับดวงอาทิตย์นั่นเอง
    "อธิบายได้ว่า ขณะที่เราอยู่ตรงกลางหันหลังให้พระอาทิตย์ (พระอาทิตย์อยู่ด้านหลังเรา ) รุ้งกินน้ำอยู่ข้างหน้าเรา หลังจากฝนตกไม่นาน ยังมีละอองน้ำอยู่ในอากาศเป็นเม็ดกลมๆ เหนือท้องฟ้า พระอาทิตย์ส่องแสงไปกระทบเม็ดกลมละอองน้ำ แสงจะหักเหเป็นมุมประมาณ40-42 องศา สะท้อนกลับมาเข้าลูกตาเราครบทุกสี เห็นเป็นภาพรุ้งโค้งๆถึงครึ่งวงกลม คือ ม่วงครามน้ำเงินเขียวเหลืองแสดแดง เรียงจากบนลงล่างเรียกปฐมภูมิ"






   วันอังคาร ที่ 6  กันยายน   พ.ศ. 2554
     

ทำไมท้องฟ้าจึงเป็นสีฟ้า


      ท้องฟ้าเป็นสีฟ้านั้นเกิดจากการกระเจิงแสงของโมเลกุลในชั้บรรยากาศ ของโลก โดยเมื่อแสงขาวจากแสงแดดผ่านเข้ามายังชั้นบรรยากาศของโลกจะกระทบกับโมเลกุลแก๊ส และเกิดการกระเจิงแสงของโมเลกุล

     เมื่อลำแสงจากดวงอาทิตย์ ผ่านบรรยากาศเข้ามาตรงศีรษะ หรือเกือบตรงศีรษะ แสงที่เดิมทีเป็นสีขาวก็แยกตัวออกด้วยการกระเจิงกลายเป็นมีสีฟ้ามากกว่าสีอื่นๆ เพราะโมเลกุลของก๊าซในบรรยากาศของเราจะกระเจิงแสงสีฟ้าได้ดีกว่า โดยเฉพาะโมเลกุลของก๊าซอ๊อกซิเจน และไนโตรเจน  จะกระเจิงแสงสีฟ้าได้ดีกว่าสีแดงที่มีความยาวคลื่นมากกว่าสีฟ้า แสงที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าจะกระเจิง (Scattering) ได้ดีในชั้นบรรยากาศ

      สียิ่งมีความยาวคลื่นสั้นก็ยิ่งจะกระเจิงแสงได้ดี และแสงสีฟ้านี่เองกระเจิงได้มากถึง 10 เท่าของสีแดง และนั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมท้องจึงเป็นสีฟ้า

      อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแสงสีม่วงจะกระเจิงได้ดีกว่าแสงสีฟ้า ถึง 16 เท่า แต่เรตินาของคนเรา มีประสาทรับแสงที่ไวต่อแสงสีฟ้ามากกว่าสีม่วง ทำให้เรามองไม่ค่อยเห็นส่วนที่เป็นสีม่วง แต่จะเห็นสีฟ้ามากกว่าในเวลากลางวัน
     
ถึงตรงนี้ หลายคนคงสงสัยด้วยว่า แล้วในเวลาเย็นท้องฟ้าถึงเปลี่ยนสีกลายเป็นสีส้มๆ แดงๆ

      นั่นเป็นเพราะในเวลาเย็นหรือเช้า แสงจะเข้ามาเฉียงๆ เป็นมุมทแยงกับพื้นโลก และต้องผ่านบรรยากาศหนาขึ้นมากกว่าเวลาที่พระอาทิตย์ตรงศีรษะ และกว่าจะเดินทางถึงตาเรา แสงสีฟ้าส่วนใหญ่จะกระเจิงออกไปหมด ส่วนหนึ่งจะหายไปในอวกาศ ทำให้แสงที่เหลือ ซึ่งเป็นพวกสีส้มสีแดงมีอิทธิพลมากขึ้นมาเรื่อยๆ เมื่อเวลาเย็นลง ท้องฟ้าก็จะเริ่มเปลี่ยนสีไปทางสีส้มมากขึ้น 
      ท้องฟ้าหรือโลกเรามีออกซิเจน ธาตุทุกชนิดมีสีคือสิ่งที่วัสดุดูดกลืนไปไม่ได้ สิ่งใดใส สิ่งนั้นแสงจะผ่านได้ สิ่งใดสะท้อนได้ ก็จะเห็นเป็นสี 7 สีที่เห็นกับสิ่งของต่างๆ เกิดจากของดูดกลืน สีได้ต่างกัน ท้องฟ้า ประกอบด้วย ไนโตรเจน ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์และอื่นๆ
      ส่วนไหนของเมือง มีออกซิเจนมาก จะเห็นว่ามีสีใส และสีฟ้า แต่ถ้า คาร์บอน มาก จะมองว่าขาวมัว ท้องฟ้าสีฟ้า จึงเป็นไปได้ที่สุดว่าเกิดจาก ออกซิเจน ในอากาศมาก ซึ่งถ้ายิ่งสูงออกซิเจนจะเป็นโอโซนซึ่งจะทำให้สี ฟ้าสดใสยิ่งขึ้น