1.จิบน้ำบ่อย ๆ
สมองประกอบด้วยน้ำ 85 % เชลล์ สมองก็เหมือนต้นไม้ที่ต้องการน้ำหล่อเลี้ยง ถ้าไม่มีน้ำ ต้นไม้ก็เกี่ยว ถ้าไม่อยากให้เชลล์สมองเหี่ยว ซึ่งส่งผลให้การส่งข้อมูลช้า กลายเป็นคนคิดช้าหรือคิดไม่ค่อยออก แต่ละวันจึงควรดื่มน้ำบ่อย ๆ
2.กินไขมันดี
คนไม่ค่อยรู้ว่าสมองคือก้อนไขมัน ซึ่งจำเป็นต้องมีไขมันดีไปทดแทนส่วนที่สึกหรอ แนะนำให้กินไขมันดีระหว่างวัน จำพวกน้ำมันปลา สารสกัดใบแปะก๊วย ปลาที่มีไขมันดีอย่าง ปลาแซลมอน นมถั่วเหลือง วิตามินรวม น้ำมันพริมโรสเป็นน้ำมันดี ที่ทำให้เชลล์ชุ่มน้ำ ส่วนวิตามินซีกินแล้วสดชื่น
3.นั่งสมาธิวันละ 12 นาที
หลังจากตื่นนอนแล้วให้ตั้งสติและนั่งสมาธิทุกเช้า วันละ 12 นาที เพื่อให้สมองเข้าสู่ช่วงที่มีคลื่น Theta ซึ่งเป็นคลื่นที่ผ่อนคลายสุด ๆ ทำให้สมองมี Mental Imagery สามารถจินตนาการเห็นภาพและมีความคิดสร้างสรรค์(ถ้าทำไม่ได้ตอนเช้า)ให้หัดทำก่อนนอนทุกวัน
4.ใส่ความตั้งใจ
การตั้งใจในสิ่งใดก็ตาม เหมือนการโปรแกรมสมองว่านี่คือสิ่งที่ต้องเกิด ระหว่างวันสมองจะปรับพฤติกรรมเราให้ไปสู่เป้าหมายนั้น ทำให้ประสบความสำเร็จในสิ่งต่าง ๆ เพราะสมองไม่แยกระหว่างสิ่งที่ทำจริงกับสิ่งที่คิดขึ้น ทั้งสองอย่างจึงเป็นเสมือนสิ่งเดียวกัน
5.หัวเราะและยิ้มบ่อย ๆ
ทุกครั้งที่ยิ้มหรือหัวเราะ จะมีสารเอ็นโดรฟิน ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข หลั่งออกมาเท่ากับเป็นการกระตุ้นให้มีความอยากรักและหวังดีต่อคนอื่นไป เรื่อยๆ
6.เรียนรู้สิ่งใหม่ทุกวัน
สิ่งใหม่ในที่นี้หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น กินอาหารร้านใหม่ ๆ รู้จักเพื่อนใหม่ อ่าน หนังสือเล่มใหม่ คุยกับเพื่อนร่วมงานและเรียนรู้วิธีการทำงานของเขา เป็นต้น เพราะการเรียนรู้สิ่งใหม่ทำให้สมองหลั่งสารเอ็นโดรฟิน และโดปามีน ซึ่งเป็นสารแห่งการเรียนรู้ กระตุ้นให้อยากเรียนรู้และสร้างสรรค์ ไปเรื่อย ๆ เมื่อมีความสุขก็ทำให้มีความคิดสร้างสรรค์
7.ให้อภัยตัวเองทุกวัน
ขณะที่การไม่ให้อภัยตัวเอง โกรธคนอื่น โกรธตัวเอง ทำให้เปลืองพลังงานสมอง การให้อภัยตัวเอง เป็นการลดภาระของสมอง
8.เขียนบันทึก Graceful Journal
ฝึกเขียนขอบคุณสิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้นแต่ละวันลงในสมุดบันทึก เช่น ขอบคุณที่มีครอบครัวที่ดี ขอบคุณที่มีสุขภาพที่ดี ขอบคุณที่มีอาชีพที่ทำให้มีความสุข เป็นต้น เพราะการเขียนเรื่องดี ๆ ทำให้สมองคิดเชิงบวก พร้อมกับหลั่งสารเคมีที่ดีออกมา ช่วยให้หลับฝันดี ตื่นมาทำสมาธิได้ง่าย มีความคิดสร้างสรรค์
9.ฝึกหายใจลึก ๆ
สมองใช้ออกชิเจน 20-25 % ของออก ชิเจนที่เข้าสู่ร่างกาย การฝึกหายใจเข้าลึก ๆ จึงเป็นการส่งพลังงานที่ดีไปยังสมอง ควรนั่งหลังตรงเพื่อให้ออกชิเจนเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้น ถ้านั่งทำงานนาน ๆ อาจหาเวลายืนหรือเดินยึดเส้นยืดสายเพื่อให้ปอดขยายใหญ่ สามารถหายใจเอาออกชิเจนเข้าปอดได้เพิ่มขึ้นอีก 20 %
การมีสมองที่ดีก็เหมือนทักษะทุกอย่างในโลกที่เรียนรู้ได้
แต่จะเก่งหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการฝึก
ถ้าเราดูแลและฝึกฝนสมองให้ดี คุณภาพชีวิตก็จะดีตาม
1.) การแสวงหาความรู้
"การศึกษาไม่มีคำว่าสาย" ข้อความนี้หลายคยคงเคยได้ยินและทราบความหมายกันเป็นอย่างดี เพราะไม่ว่าจะอายุมากแค่ไหนก็สามารถเรียนกันได้ทั้งนั้น บางคนจบปริญญาตรีตอนอายุ 60 ก็ยังมี ซึ่งก็เป็นความภาคภูมิใจส่วนตัว และเกียรติแก่วงศ์ตระกูลต่อไป
การหาความรู้ ความจริงแล้วไม่จำเป็นต้องเข้าสถาบันการศึกษา แต่เราสามารถหาความรู้เพิ่มพูนปัญญาของตนเองได้ทุกที่ ทุกเวลา เพราะหากยิ่งเรารู้มากแค่ไหนประโยชน์ต่าง ๆ ก็จะเกิดกับเรามากขึ้นแค่นั้น
คนที่เรียนเก่งมักจะบอกว่าตนไม่ค่อยรู้อะไรมาก และพวกเขาก็จะหาความรู้มาใส่สมองอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งแหล่งความรู้ ไปทางไหนก็มีให้เก็บเกี่ยวอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุด อินเตอร์เน็ต นิตยสาร หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ เป็นต้น ความรู้เหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเป็นข้อมูลทางวิชาการเพียงอย่างเดียวเท่านั้น อาจจะเป็นการพบไอเดียใหม่ ๆ ความบันเทิง ดนตรี เพลง หรืออะไรก็ได้ ที่จะช่วยพัฒนาความรู้และสติปัญญาของเรา
คนที่เรียนเก่งมักจะบอกว่าตนไม่ค่อยรู้อะไรมาก และพวกเขาก็จะหาความรู้มาใส่สมองอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งแหล่งความรู้ ไปทางไหนก็มีให้เก็บเกี่ยวอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุด อินเตอร์เน็ต นิตยสาร หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ เป็นต้น ความรู้เหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเป็นข้อมูลทางวิชาการเพียงอย่างเดียวเท่านั้น อาจจะเป็นการพบไอเดียใหม่ ๆ ความบันเทิง ดนตรี เพลง หรืออะไรก็ได้ ที่จะช่วยพัฒนาความรู้และสติปัญญาของเรา
"การเป็นคนที่ไม่ขาดความรู็จะทำให้เราทันโลก ทันเหตุการณ์และไม่มีทางตกข่าว ส่วนการเรียนของเราก็จะฝึกคิดได้มากขึ้น สามารถ นำสิ่งต่าง ๆ มาเรียงร้อยเป็นข้อความใช้ในการตอบข้อสอบได้อีกด้วย"
2.) การกำจัดความเกียจคร้าน
ความเกียจคร้านเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการทำทุก ๆ อย่าง รวมทั้งเรื่องการเรียนก็เช่นเดียวกัน ความเกียจคร้านอยู่กับกิจกรรมการเรียนทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเกียจคร้ายตื่นไปเรียน ขี้เกียจเรียนวิชานี้ ขี้เกียจอ่านหนังสือ ขี้เกียจทำการบ้าน ความขี้เกียจหลายรูปแบบเหล่านี้เป็นโทษต่อผลการเรียนอย่างแน่นอน
ความเกียจคร้านทำให้เวลาในการทำกิจกรรมที่น่าจะมีมากกลับลดลงไปในพริบตา เช่น อาจารย์สั่งทำการบ้านจะต้องส่งในอาทิตย์หน้า ความเกียจคร้านจะบอกเราว่าให้ทำวันอื่นก็ได้ยังมีเวลาอีกมาก ตอนนี้ขอเล่นเกมส์ ขอนอนก่อน หรือดูโทรทัศน์ก่อนจะดีกว่า แต่ถ้าหากส่งทันงานก็ไม่มีคุณภาพเลย
ความเกียจคร้านทำให้เวลาในการทำกิจกรรมที่น่าจะมีมากกลับลดลงไปในพริบตา เช่น อาจารย์สั่งทำการบ้านจะต้องส่งในอาทิตย์หน้า ความเกียจคร้านจะบอกเราว่าให้ทำวันอื่นก็ได้ยังมีเวลาอีกมาก ตอนนี้ขอเล่นเกมส์ ขอนอนก่อน หรือดูโทรทัศน์ก่อนจะดีกว่า แต่ถ้าหากส่งทันงานก็ไม่มีคุณภาพเลย
ในเรื่องของการอ่านหนังสือก็เช่นกัน คนขยันจะอ่านหนังสือทบทวนไปเรื่อยจนกระทั่งวันสอบ ก็ไม่ต้องเตรียมตัวมาก แต่คนเกียจคร้านจะผลัดวันประกันพรุ่งไปก่อนเห็นว่ามีเวลาอีกนาน และพอใกล้สอบก็อ่านหนังสือไม่ทันแน่อย่างนอน
"หากตัดนิสัยจอมเกียจคร้านนี้ออกไปได้ รับรองได้เลยว่าเรื่องที่ผล การเรียนไม่เป็นที่น่าพอใจ จะกลายเป็นแค่อดีตไปอย่างแน่นอน"
สาเหตุหนึ่งของการเรียนที่ไม่ได้ดั่งใจนัก ส่วนใหญ่มาจากความวิตกกังวลในตัวเอง บางคนตีตนไปก่อนแล้วทั้งที่เรื่องยังไม่เกิด เช่น กลัวว่าจะทำข้อสอบไม่ได้ ข้อสอบต้องยากแน่ ๆ อ่านหนังสือไม่ทันแน่นอน หรือกลัวว่าจะทำการบ้านไม่ทัน อาการตีตนไปก่อนไข้ เช่นนี้เป็นการบั่นทอนความสามารถทางตรงของเราเลยทีเดียว
ตกปกติแล้ว หากเราวิตกกังวลกลัวว่าจะทำอะไรไม่ได้ เราก็ต้องอ่านหนังสือทบทวนบทเรียนต่าง ๆ ให้มาก เพื่อจะได้เผชิญกับโจทย์ได้ทุกรูปแบบ แต่ก็มีหลายคนที่เมื่อเกิดอาการวิตกกังวลล่วงหน้าแล้ว ทำอะไรไม่ถูกสักอย่าง อ่านหนังสือก็ไม่รู้เรื่อง ยิ่งเร่งยิ่งช้า ซึ่งทำให้การเรียนยิ่งแย่ลงเข้าไปใหญ่ ในทางตรงกันข้าม คนที่มีเหตุผลปล่อยตัวตามสบาย เช่น พอรู้ว่าจะมีสอบก็มีการเตรียมตัวล่วงหน้า อ่านหนังสือเก็บรายละเอียดไปอย่างช้า ๆ แต่มีความเข้าใจในบทเรียนอย่างแท้จริง การเรียนด้วยวิธีแบบนี้จะช่วยให้ประสบความสำเร็จ แบบสบายตัว สบายใจ และจิต ดังนั้นต้องฝึกสังเกตตนเองก่อนว่าเรานั้นเป็นคนตีตนไปก่อนไข้แบบไหนกันแน่ ถ้าเป็นแบบวิตกแล้วเตรียมความพร้อมก็เป็นได้ แต่ถ้าหากวิตกแบบสับสนทำอะไรไม่ถูกก็คงต้องระวังหน่อย และหาทางเลิกนิสัยแบบนี้ทันทีก่อนจะสายเกินไป
4.) การนั่งสมาธิ
การเรียนให้ดีนั้น เวลาเข้าเรียนต้องพร้อมทั้งตาที่จ้องไปที่อาจารย์ผู้สอน หูฟังที่อาจารย์พูด หรือเพื่อนถามตอบกัน มือจดบันทึกสิ่งที่ได้เห็นและได้ยิน สมองต้องคิดตามสิ่งต่าง ๆ ที่ครูสอนความพร้อมในทุก ๆ เรื่องเช่นนี้ต้องอาศัยสมาธิของเราเป็นหลัก
การเกิดสมาธิของเรานั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ ด้านทั้งความรัก ความอบอุ่นในครอบครัว ภาวะอารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง หรือเหตุการที่เกิดกับชีวิต สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดปัญหาและทำลายสมาธิของเราลงได้ เมื่อใดก็ตามที่เราเข้าห้องเรียน เราต้องตัดความวุ่นวายใจอันก่อให้เกิดการทำลายสมาธิไปให้หมด เพราะไม่อย่างนั้น จะเรียนไม่รู้เรื่องแน่นอน ตาก็เหม่อลอย หูก็จะได้ยินแต่เสียงกระทบจิตใจ มือจะเขี่ยปากกา สอมงจะคิดแต่เรื่องที่เจอมา สมาธิของเราจะไม่มี แล้วเราจะไม่พร้อมสักอย่าง
การสร้างสมาธิอาจจะไม่ต้องถึงกับการนั่งสมาธิสัก 10 นาทีก่อนเข้าเรียน แต่อาจเป็นการหลับตาลงสัก 1 นาที แล้วบอกตัวเองว่าจะเรียนแล้ว เลิืกคิดเรื่องอื่นก็น่าจะดีมากขึ้น
การเกิดสมาธิของเรานั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ ด้านทั้งความรัก ความอบอุ่นในครอบครัว ภาวะอารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง หรือเหตุการที่เกิดกับชีวิต สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดปัญหาและทำลายสมาธิของเราลงได้ เมื่อใดก็ตามที่เราเข้าห้องเรียน เราต้องตัดความวุ่นวายใจอันก่อให้เกิดการทำลายสมาธิไปให้หมด เพราะไม่อย่างนั้น จะเรียนไม่รู้เรื่องแน่นอน ตาก็เหม่อลอย หูก็จะได้ยินแต่เสียงกระทบจิตใจ มือจะเขี่ยปากกา สอมงจะคิดแต่เรื่องที่เจอมา สมาธิของเราจะไม่มี แล้วเราจะไม่พร้อมสักอย่าง
การสร้างสมาธิอาจจะไม่ต้องถึงกับการนั่งสมาธิสัก 10 นาทีก่อนเข้าเรียน แต่อาจเป็นการหลับตาลงสัก 1 นาที แล้วบอกตัวเองว่าจะเรียนแล้ว เลิืกคิดเรื่องอื่นก็น่าจะดีมากขึ้น
1. เวลาอ่านบทเรียนหรือตำรา ให้อ่านอย่างตั้งใจ แต่ทว่าเราจะไม่อ่านไปเรื่อยๆ คือเราจะหยุดอ่านเมื่อจบย่อหน้าหรือหยุดเมื่ออ่านไปได้พอสมควรแล้ว
2. จากนั้นให้ปิดหนังสือ แล้วลองอธิบายสิ่งที่ตนเองได้อ่านมาให้ตัวเองฟังคือ เราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟังด้วยภาษาสำนวนของเราเอง ฟังแล้วเข้าใจหรือเปล่า หากเราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟังรู้เรื่อง แสดงว่าเราเข้าใจแล้ว ให้อ่านต่อไปได้
3. หากตอนใดเราอ่านแล้ว แต่ไม่สามารถอธิบายให้ตัวเองรู้เรื่อง แสดงว่ายังไม่เข้าใจ ให้กลับไปอ่านทบทวนใหม่อีกครั้ง
4. หากเราพยายามอ่านหลายรอบแล้ว แต่ยังไม่เข้าใจจริงๆให้จดโน้ตไว้เพื่อนำไปถามอาจารย์ จากนั้นให้อ่านต่อไป
5. ข้อมูลบางอย่างในตำราจำเป็นที่จะต้องท่องจำ เช่น ตัวเลข สถิติ ชื่อสถานที่ บุคคล หรือ สูตรต่างๆ ฯลฯ ก็ควรท่องจำไว้ด้วย เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจ ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
6.การเรียนด้วยวิธีท่องจำ โดยปราศจากความเข้าใจ เรียนไปก็ลืมไป สูญเสียเวลาเปล่าประโยชน์ เสียเงินทอง
7.การเรียนที่เน้นแต่ความเข้าใจ โดยไม่ยอมท่องจำ ก็จะทำให้เราเข้าใจเรื่องต่างๆไม่ชัดเจน คลุมเครือ
8. ดังนั้นควรมีเทคนิคง่ายๆ สั้นๆ ดังต่อไปนี้
ก.ให้อ่านหนังสือ สลับกับการอธิบายให้ตัวเองฟัง
ข.ให้ท่องจำเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นต้องจำจริงๆ เช่น ตัวเลข ชื่อเฉพาะต่างๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น